Username or Email Address
Password
Remember Me
Lost your password?
International association for the measurement and evaluation of communication
หลักการบาร์เซโลน่า 3.0 ( Barcelona Principles 3.0 ) ได้ถูกนำเสนอในระหว่างการประชุม AMEC Virtual Summit โดย Ben Levine, Director & Partner ของ TRUE Global Intelligence และคณะกรรมการบริหารของ AMEC
หากเกิดการเปลี่ยนแปลงตามหลักการบาร์เซโลน่าที่นำเสนอในปี 2020 นี้ ก็จะช่วยให้เกิดความคมชัดเรื่องวิธีการสื่อสาร การสร้างผลกระทบจากการสื่อสาร และความโปร่งใสในการดำเนินงานในอุตสาหกรรมการสื่อสารเป็นอย่างมาก
เป็นเวลากว่าสิบปี นับตั้งแต่มีการนำเสนอหลักการบาร์เซโลน่าครั้งแรก จนเกิดเป็นข้อตกลงร่วมกันสำหรับแนวทางการวัดและประเมินผลประสิทธิภาพของการสื่อสาร ต่อมา ได้มีการปรับปรุงหลักการไปเมื่อราว 5 ปีที่แล้ว ซึ่งก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ตามลักษณะของอุตสาหกรรมการสื่อสาร ซึ่งมีการเคลื่อนตัวค่อนข้างรวดเร็ว
ซึ่งนั่นนำมาสู่หลักการบาร์เซโลน่า 3.0 นี้ เพราะแนวทางที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2010 หรือ ในปี 2015 น่าจะไม่เหมาะสมอีกแล้ว ยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแทบจะไม่เหลือเค้าโครงของบริบทเดิมอีกเลย ยิ่งไปกว่านั้น การสื่อสารได้กลายเป็นเรื่องสำคัญและถูกวัดผลโดยองค์กรที่หลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและบทบาทการใช้งานก็แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรการกุศล องค์กรอิสระ หรือ องค์กรมหาชน รวมถึง องค์กรไม่แสวงหากำไรอื่น ๆ
1. การตั้งเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทำก่อนการวางแผนการสื่อสาร การวัดผล และการประเมิน
หลังจากที่ได้มีการนำหลักพื้นฐานของการตั้งเป้าหมายด้วยแนวคิด SMART เข้ามาใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการวางแผนการสื่อสาร จนกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการวางแผนการสื่อสาร จึงทำให้การวัดและการประเมินผลเป็นองค์ประกอบหลักของกระบวนการวางแผน อีกทั้งช่วยให้กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างชัดเจน และระบุได้ว่ากระบวนการขั้นตอนตรงไหนบ้างที่จะถูกการประเมินผลการทำงาน
2. การวัดผลและการประเมิน ควรต้องระบุได้ทั้ง จำนวนที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
หลักการฉบับก่อนหน้านี้ แนะนำให้วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าการนับจำนวนตัวเลขที่ได้รับซึ่งอาจทำได้ง่ายๆ หลักการฉบับปรุงปรุงตัวนี้ ได้ขยายออกไปให้คลอบคลุมในส่วนของผลกระทบระยะยาวจากการดำเนินกลยุทธ์การสื่อสาร หากพูดตาม Levine* นี่หมายถึง การคิดเรื่อง“ช่องทางที่เรากำลังส่งอิทธิพล และการเปลี่ยนแปลงที่เราอยากจะเห็นผ่านทางแคมเปญ หรือกิจกรรมที่จัดขึ้น”
3. ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น ควรพิจารณาในแง่มุมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม และองค์กร
จากที่เคยมุ่งเน้นเรื่องตัววัดทางธุรกิจ เช่นเรื่อง ยอดขายและผลตอบแทน หลักการฉบับปี 2020 นี้ ได้ผนวกมุมมองการวัดประสิทธิภาพองค์รวมที่หลากหลายมากขึ้น มีแบบจำลองขององค์กรและบทบาทการสื่อสารที่กว้างขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยผลกำไรเท่านั้น
4. การวัดและประเมินผลการสื่อสาร ควรมีทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
“เพื่อที่จะเข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นจากงานของเราอย่างครบถ้วน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องใช้การวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ” นี่เป็นบทสรุปของ Levine ที่อธิบายการปรับปรุงตัวหลักการครั้งนี้ ซึ่งไม่ใช่แค่การวัดเรื่องปริมาณแต่เพื่อให้เข้าใจด้วยว่า การสื่อสารนั้นสื่อถึงผู้รับสารได้อย่างไร ผู้ฟังเกิดการเชื่อถือได้อย่างไร และสารนั้นได้รับการแปลความอย่างไร
5. AVEs ไม่ใช่ ตัวเลขวัดมูลค่าด้านการสื่อสาร
เรายังคงกล่าวอย่างชัดเจนเช่นเดิมว่า เรายังคงเชื่อว่า AVEs ไม่ใช่สิ่งที่จะแสดงมูลค่าของงานที่เราทำได้ เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องตระหนักว่า การวัดผลและประเมินผลทางการสื่อสารนั้น แสดงผลได้ดีกว่า เหมาะสมมากกว่า และช่วยให้เห็นแง่มุมที่หลากหลายมากกว่าของผลกระทบจากการสื่อสาร
(หมายเหตุ AVE ย่อมาจาก Advertising Value Equivalency หรือ ที่หลายคนเรียกติดปากว่า PR Value สามารถคำนวณได้อย่างง่ายๆ โดยใช้ Ad Value คูณด้วย 3 เพราะเชื่อว่า การนำเสนอข่าว สร้างค่าความน่าเชื่อถือได้มากกว่าการซื้อโฆษณา 3 เท่า – ผู้แปล)
6. การวัดและประเมินผลการสื่อสารองค์รวม (Holistic Communication) ต้องใช้ทั้งสื่อออนไลน์และสื่อออฟไลน์ที่เกี่ยวข้อง
หลักการพื้นฐานของเราก็คือ เป็นที่ชัดเจนว่า สื่อสังคมออนไลน์สามารถและควรได้รับการวัดผลในโลกทุกวันนี้ การพัฒนาของฉบับปี 2020 นี้ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในด้าน ศักยภาพ โอกาส และอิทธิพลที่เกิดขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือออฟไลน์ หากเกี่ยวข้อง ก็ควรได้รับการประเมินอย่างสำคัญเท่ากัน ซึ่งกรอบแนวทางการวัดผลของ AMEC ได้ส่งเสริมให้เกิดการวัดผลในทุกสื่ออย่างเท่าเทียมทั้งจากของตัวเอง ของพันธมิตร ของผู้มีส่วนร่วม และสื่อจากการจ่ายเงินเพื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มั่นใจว่า ทุกสื่อนั้นล้วนมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันตามที่ได้กำหนดไว้
7. การวัดและประเมินผลการสื่อสาร มีรากฐานที่สำคัญคือเรื่องความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และค้นพบข้อมูลเชิงลึกได้
การวัดผลที่ถูกต้อง สม่ำเสมอ และความสอดคล้องกัน จะนำไปสู่ ความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส ซึ่งเป็นเรื่องที่โลกทุกวันนี้กำลังให้ความสนใจในเรื่องการปกป้องข้อมูล เป็นเรื่องที่องค์กรต่างจะต้องปรับตัวตามกฎระเบียบข้อบังคับใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น เช่น GDPR การวัดผลจึงไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ อย่างการเก็บรวมรวบข้อมูล แต่เป็นเป็นการเรียนรู้จากการประเมินผล และค้นพบข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำกลับไปสู่การปรับปรุงแผนการสื่อสาร นั่นจึงจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินงาน ระวัดระวังอคติหรือการโอนเอียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือ วิธีการวิเคราะห์ รวมถึงการตีความผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
หลักการบาร์เซโลน่า 3.0 เป็นผลจากความร่วมมือของทีมงานทุกมุมโลก พวกเขาได้ทุ่มเทพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับโลกของการสื่อสาร รวมถึงคนทำงานในยุคปัจจุบัน และจะยังคงมุ่งมั่นปรับปรุงต่อไปเพื่อให้พร้อมกับโลกที่กำลังจะมาถึงในอนาคต
Isentia
This site uses cookies. By continuing to browse the site, you are agreeing to our use of cookies.
We may request cookies to be set on your device. We use cookies to let us know when you visit our websites, how you interact with us, to enrich your user experience, and to customize your relationship with our website.
Click on the different category headings to find out more. You can also change some of your preferences. Note that blocking some types of cookies may impact your experience on our websites and the services we are able to offer.
These cookies are strictly necessary to provide you with services available through our website and to use some of its features.
Because these cookies are strictly necessary to deliver the website, refusing them will have impact how our site functions. You always can block or delete cookies by changing your browser settings and force blocking all cookies on this website. But this will always prompt you to accept/refuse cookies when revisiting our site.
We fully respect if you want to refuse cookies but to avoid asking you again and again kindly allow us to store a cookie for that. You are free to opt out any time or opt in for other cookies to get a better experience. If you refuse cookies we will remove all set cookies in our domain.
We provide you with a list of stored cookies on your computer in our domain so you can check what we stored. Due to security reasons we are not able to show or modify cookies from other domains. You can check these in your browser security settings.
We also use different external services like Google Webfonts, Google Maps, and external Video providers. Since these providers may collect personal data like your IP address we allow you to block them here. Please be aware that this might heavily reduce the functionality and appearance of our site. Changes will take effect once you reload the page.
Google Webfont Settings:
Google Map Settings:
Google reCaptcha Settings:
Vimeo and Youtube video embeds:
You can read about our cookies and privacy settings in detail on our Privacy Policy Page.